วันเสาร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

หาสินค้าในการเทรด

หาสินค้าในการเทรด

            เป็นอีกหนึ่งปัญหาของเทรดเดอร์หลายคนที่มีวิธีการเทรดที่ดีแล้ว แต่ไม่สามารถหาสินค้าเทรดได้ เนื่องจากไม่รู้ว่าสินค้าใดจะเข้าเงื่อนไขของที่เทรดเดอร์กำหนดไว้ การเลือกสินค้าที่เหมาะสมกับวิธีการเทรดของเรา เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้เทรดเดอร์ได้กำไรจากการเทรดอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
วัฏจักรของตลาด
            การเคลื่อนไหวของตลาดนั้นแตกต่างกันไป แต่วัฏจักรที่เกิดขึ้นของทุกตลาดนั้นต้องมีเหมือนกันคือ ประกอบด้วยช่วงแกว่งตัว (Ranging) และช่วงเป็นแนวโน้ม (Trend) เราสามารถลงรายละเอียดได้ดังภาพด้านล่างนี้

            ในแต่ละช่วง (แต่ละวงกลม) สามารถเกิดขึ้นได้ภาพในไม่กี่ชั่วโมง , หรือเป็นวัน , หรือสัปดาห์ และส่วนมากใน 1 กลยุทธ์ของเทรดเดอร์แต่ละคนนั้น จะทำงานได้ดีในช่วงในช่วงหนึ่งเท่านั้น เช่น Range strategies ทำงานได้ดีในช่วง Ranging , Momentum strategies ทำงานได้ดีในช่วงเป็น Trend และ Reversal system ทำงานได้ดีในช่วงกำลังเปลี่ยนแนวโน้ม
            การเลือกเทรดในตลาดที่เหมาะสมกับเรานั้นเป็นสิ่งสำคัญ ส่วนการเลือกสินค้าที่จะเทรดนั้น เราต้องมองภาพกว้างของแต่ละตลาดว่าเป็นลักษณะใด โดยใช้การทำ Watchlist ในการหาสินค้านั้นๆ

เข้าใจเงื่อนไขตลาดที่เหมาะสมกับกลยุทธ์
            สมมติกลยุทธ์ของเทรดเดอร์ที่ใช้เป็นลักษณะ Reversal system ก็ควรหาสภาพตลาดที่เป็นลักษณะกำลังกลับตัว ไม่เทรดในตลาดที่เป็น Ranging หรือ Breakout อะไรพวกนี้ แยกแยะลักษณะออกไปว่าในแต่ละเงื่อนไขนั้นเหมาะสมกับกลยุทธ์ที่ใช้
ลักษณะตลาดที่ไม่เทรดลักษณะตลาดที่เทรด
Rangingผันผวนปานกลาง
Breakoutโมเมนตัมเริ่มอ่อนตัว
V tops/bottoms
ผันผวนสูง
คัดเลือกสินค้าในการเทรด
            อย่างแรกคือนำสินค้าที่เราสามารถเทรดได้ หรือสินค้าที่เราสนใจทั้งหมดมาใส่รวมกัน สมมติมี 25 ตัว ประกอบด้วย คู่สกุลเงิน , สินค้าโภคภัณฑ์ , ดัชนี โดยในทุกสัปดาห์ควรจะคัดสินค้าที่เหมาะสมกับกลยุทธ์หลักของเรา ขั้นแรกตัดสภาพตลาดที่เป็น Ranging และ High volatility ซึ่งในการคัดเลือกนี้จะสามารถตัดสินค้าที่เราเหมาะสมกับกลยุทธ์ของเทรดเดอร์ถึง 30-40% และขั้นถัดมา เพิ่มรายละเอียดลงมา คือ ช่วงที่โมเมนตัมเริ่มอ่อนตัว เราก็จะเหลือสินค้าที่อยู่ใน Watchlist เราประมาณ 4-5 ตัว และค่อยมาหาสัญญาณการเทรดอีกครั้งหนึ่ง

ทีมงาน : forexbrokersthailand.com

ความจริงเกี่ยวกับการเทรด

ความจริงเกี่ยวกับการเทรด

            ในโลกการเทรดนั้นประกอบด้วยคำพูดเชิงทฤษฎี เชิงเพ้อฝัน ไกลจากความเป็นจริง ในการเทรดจริงนั้นมีแต่คนที่เคยเทรดจริงๆนั้นที่รู้ดีว่า อะไรเป็น อะไร เทรดเดอร์ต้องเจอสถานการณ์อะไรบ้าง สิ่งที่ใดที่ทำให้เทรดเดอร์นั้นสำเร็จ และสิ่งที่ที่จะเป็นตัวทำลายเทรดเดอร์ สิ่งที่จะกล่าวต่อไปนี้คือสิ่งที่รวบรวมจากเทรดเดอร์ที่ย้ำแล้วย้ำอีก ว่าเกิดขึ้นจริงการเทรด ไม่ใช่ทฤษฎี
  1. ถ้าเป้าหมายการทำกำไรของคุณต่ำกว่า 5pips คุณจะโดนค่า Commissions และ Spread กิน
  2. วิธีระบายความเครียดจากความกดดันในการเทรดคือ กีฬา , การดื่ม , วาดภาพ หรืออะไรก็ได้ที่คุณชอบ
  3. การหา Mentor ที่ดีนั้นจะช่วยให้คุณเก่งไวขึ้น
  4. หาสไตล์การเทรดที่เหมาะสมกับคุณลักษณะของคุณและวิธีชีวิตของคุณ
  5. อย่าเทรดเกิน 4 ชั่วโมงต่อวัน
  6. การ Overtrade เป็นหายนะ
  7. เมื่อคุณไม่ได้รู้สึกอะไรกับการพลาดโอกาสการเทรด เป็นสัญญาณว่าคุณเข้าสู่ช่วงที่เทรดกำไร
  8. ในช่วงประกาศข่าวไม่ควรเทรด รอตลาดเฉลยก่อนที่จะเข้าไปเทรด
  9. รอให้ราคาสร้างรูปแบบก่อนค่อยเข้าไปเทรด
  10. อย่าเปลี่ยนระบบเทรดบ่อย แต่ใช้การปรับปรุงระบบที่คุณเลือก
  11. อย่าใช้ Leverage มากเกิน
  12. เป็นไปได้ที่พอร์ตเล็กจะโตเป็นพอร์ตใหญ่ แต่อย่าไปคาดหวังว่ามันจะโตเพียงช่วงข้ามคืน
  13. การเทรดบางทีก็เร็ว บางทีก็ช้า บางทีก็อาจไม่ได้เข้าเลย
  14. ความเสี่ยงต่อการเทรดนั้นขึ้นอยู่กับความผันผวน และระดับจิตวิทยาที่คุณรับได้
  15. ต้องรู้ว่าคุณเทรดไปเพื่ออะไร
  16. Daytrade ไม่ได้ง่ายกว่า Swingtrade และ Swingtrade ก็ไม่ง่ายกว่า Daytrade เช่นกัน ทั้ง 2 สไตล์กาเทรดนี้ใช้ทักษะ , ความสามารถ , วิธีการ ที่ไม่เหมือนกัน
  17. ถามตัวเองว่า ชอบการเทรดจริงๆหรือเปล่า ถ้าใช่อยู่ต่อ ถ้าไม่ใช่ ไปทำอย่างอื่นซะ
  18. No pain , no gain (ถ้าไม่รู้จักเจ็บก็จะไม่รู้จักคำว่าเติบโต)
  19. การฟังเพลงในขณะเทรดเป็นสิ่งที่ดี เหมือนกันการฟังเพลงในรถ ถ้าเป็นเพลงหนักๆ รุนแรง คุณก็จะเหยียบคันเร่งมากกว่าขณะฟังเพลงนุ่มๆ สบายๆ การเทรดก็เช่นกัน
  20. ต้องมี Trading journal และทบทวน ทบทวน ทบทวน
  21. ขยัน เรียนรู้ให้มาก และสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง
  22. ที่บอกว่าอย่าเปลี่ยนระบบเทรด นั่นจริงเพียงบางส่วน ก่อนจะได้ระบบเทรดที่ใช้นั้นควรศึกษากลยุทธ์ต่างๆ ให้หมด เพื่อหาว่าสิ่งใดเหมาะกับคุณ
  23. การนั่งจ้องหน้าจอไม่ได้ช่วยให้คุณพัฒนาขึ้นเลย การทบทวนบันทึกการเทรดต่างหากที่ทำให้คุณพัฒนาขึ้น
  24. เทรดเดอร์ไม่จำเป็นต้องฉลาดเป็นกรด แต่ขอแค่มีจิตวิทยาในการเทรดที่ดีก็เพียงพอแล้ว
  25. อย่าไปโฟกัสที่เงิน โฟกัสที่วิธีการ
  26. อย่าไปกำไรขาดทุนในระหว่างการเทรด
  27. ถ้ามีหนังสือเทรด 2 เล่มให้คุณอ่าน 2 เล่มนั้นควรเป็น Diary Of A Professional Commodity Trader ที่เขียนโดย Peter Brandt และ Pitbull เขียนโดย Marty Schwartz 
  28. เทรดตามแนวโน้มไม่ได้ง่ายไปกว่าเทรดสวนแนวโน้มเลย
  29. ถ้าจะจ่ายเงินค่าเรียนเกี่ยวกับการเทรด ควรแยกระหว่างเทรดเดอร์ตัวจริงกับตัวปลอมให้ออก
  30. การเป็น Fulltime trader นั้นเป็นต้องเผชิญกับช่วงเวลาดี ๆ และ ร้าย ๆ บ่อยมาก
  31. พยายามให้อาหารสมองและอาการกายที่ดี
  32. Twitter เป็นแหล่งของมูลที่ดีในการเรียนรู้เกี่ยวกับการเทรด พวกเวปบอร์ดต่าง ๆ 95% มักเป็นข้อมูลขยะ
  33. เช่นเดียวกับ Youtube ที่มีทั้งดีและไม่ดี หน้าที่เราคือต้องแยกแยะมันให้ออก
  34. ทำการวางแผนการเทรดให้เป็นนิสัย
  35. เรียนรู้พวกพื้นฐานและรูปแบบราคาหลักๆ เช่น H&S , Wedges , Triangles เป็นต้น
  36. ไม่ต้องหา Tops หรือ Bottoms เพียงแต่จับจังหวะการเคลื่อนไหวระหว่างทาง
  37. เชื่อมั่นใจความสามารถของตัวเองและกลยุทธ์ที่ใช้

ทีมงาน : forexbrokersthailand.com

การวิเคราะห์ Order

การวิเคราะห์ Order

            การเทรดที่ดีคือหาข้อได้เปรียบในการเทรดให้มีมากที่สุด ไม่ว่าจะใช้วิธีการเทรด Technical หรือ Fundamental เราไม่ควรต้องแยกว่าถ้าเป็นนักเทคนิค จะไม่ต้องไปดูพื้นฐาน แต่เราควรใช้ 2 ทางนี้เพื่อสร้างกำไรแก่ตัวเราเองให้มากที่สุด
            ในบทความนี้จะกล่าวถึงการวิเคราะห์ Order การเปิด Position ของนักลงทุน ซึ่งสามารถนำข้อมูลเหล่านี้มาประกอบการเทรดเพื่อสร้างโอกาสการทำกำไรได้เช่นกัน

Open position ratios
            ใน Website ของ OANDA ซึ่งให้บริเวณข้อมูลด้านนี้ โดยใน Website จะแสดง Forex open positions rations ของคู่สกุลเงินต่างๆ ที่ลูกค้าของทาง Broker นั้นที่เปิดสถานะอะไรไว้บ้าง ถึงแม้ OANDA จะให้ข้อมูลของลูกค้าในโบรกของเขาเพียงแหล่งเดียว แต่เนื่องจากโบรก OANDA เป็นโบรกขนาดใหญ่ สามารถนำข้อมูลนี้มาวิเคราะห์แทนตลาดโดยรวมได้

      ในการวิเคราะห์ข้อมูลนี้ คือเราสามารถใช้ข้อมูลนี้แทน Indicator ตัวหนึ่งได้เลย โดยใช้หลักการที่ว่านักลงทุนส่วนมากมักคาดการณ์ผิด โดยจะเปิดสถานะตรงข้ามกับคนส่วนใหญ่ เช่นถ้าเห็นว่า EURGBP เทรดเดอร์ส่วนมากถือ Short เป็นจำนวนมาก คิดเป็น 64.48 % เมื่อเทียบกับปริมาณฝั่ง Long ที่มีเพียง 35.52% ซึ่งเทรดเดอร์สามารถนำข้อมูลนี้ไปพิจารณาในการเปิดสถานะ Short
            วิธีการนี้ไม่เหมาะสำหรับ Short-term trading เนื่องจากเป็นข้อมูลเชิงพื้นฐานต้องใช้เวลาในการปรับเปลี่ยนการเคลื่อนไหวของตลาด ให้เป็นไปตามพื้นฐาน
แต่! หลักการนี้ไม่ได้สามารถใช้กับทุกตลาด
            สิ่งหนึ่งที่ต้องตระหนักเลยคือ หลักการนี้ไม่สามารถใช้ได้กับทุกตลาด โดยเฉพาะ ราคาทองคำ หรือพวกสกุลเงินที่ใช้นโยบายการเงินในประเทศหนุนหลัง
OANDA Order book
            อีกหนึ่งเครื่องมือที่น่าสนใจคือ OANDA Order book สามารถใช้หาข้อมูลการเคลื่อนไหวของตลาด ผ่านทางการดู Order ที่เปิดของคนส่วนมาก โดยมักจะสังเกตได้ว่าคนส่วนมากมักเปิด Order ไว้ที่บริเวณ Round number (เลขกลมๆ) ซึ่งสามารถใช้บริเวณนี้เป็นแนวรับ / แนวต้าน ในการเทรดได้เช่นกัน

ทีมงาน : forexbrokersthailand.com

กฎ 4ข้อสำหรั บการหาจุดกลับตัว

กฎ 4ข้อสำหรั บการหาจุดกลับตัว

#1 แนวรับ แนวต้าน เพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ
            เป็นสิ่งที่เทรดเดอร์มือใหม่ส่วนมากมักติดกับดักตรงนี้ ตรงมักซื้อ/ขายในบริเวณแนวรับแนวต้าน เนื่องจากตามตำรา หรือในกูรูต่างๆ ชอบโชว์ความหัศจรรย์ของแนวแนวต้านเพียงอย่างเดียว ในความเป็นจริงส่วนมากจะเจอการทะลุหลอกเป็นส่วนใหญ่ การเปิดออเดอร์ก่อนราคาถึงแนวรับแนวต้านนั้นคล้ายกับการเก็บเหรียญ 5 บาทหน้ารถสิบล้ออะไรประมาณนี้ ซึ่งการใช้เพียงเครื่องมือเดียวนั้นอาจไม่เพียงพอต่อการหาจุดกลับตัว
#2 รอการยืนยันก่อน
            ไม่ควรทำนายราคา แต่ควรให้ตลาดเฉลยทิศทางที่จะไปดีกว่า เพราะเราไม่สามารถคาดการณ์ราคาในอนาคตของตลาดได้อยู่แล้ว และไม่สามารถเข้าที่จุด High และจุด Low หน้าที่ของเทรดเดอร์เพียงแค่เกาะช่วงกลางของแนวโน้มก็สามารถทำกำไรในตลาดได้แล้ว การรอจนกว่าราคาจะยืนยันการกลับตัวจะปลอดภัยกว่า
#3 ความแข็งแกร่งของแรงซื้อ
            สังเกตุช่วงราคาที่มีแรงซื้อกลับขึ้นมาอย่างแข็งแกร่ง จะเป็นบริเวณแนวรับที่แข็งแกร่งเช่นกัน และมีโอกาสเป็นจุดกลับตัวสูง การพิจารณาความแข็งแกร่งของแรงซื้อก็จะช่วยให้เทรดเดอร์สร้างโอกาสในการเทรดได้เช่นกัน
#4 ความชันของราคา
            เมื่อราคาจะกลับตัวนั้น โมเมนตัมของราคาจะอยู่ในช่วงอ่อนแรงลง ซึ่งสามารถดูได้จากความชันของการเคลื่อนไหวของราคา ในช่วงที่ชันมาก แสดงถึงโมเมนตัมสูง และในช่วงที่ความชันต่ำ แสดงถึงโมเมนตัมการเคลื่อนไหวของราคาที่ต่ำลง คล้ายกับรถที่รถความเร็วในการเคลื่อนไหว

ทีมงาน : forexbrokersthailand.com

วันศุกร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

Indicators ที่ใช้อยู่มัน Work หรือเปล่า

 Indicators ที่ใช้อยู่มัน Work หรือเปล่า

Indicators ที่ใช้อยู่มัน Work หรือเปล่า
           หนึ่งสิ่งที่เข้าใจผิดของเทรดเดอร์รายย่อยคือการเข้าใจ Indicators แบบผิดๆ เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Indicators ในมุมมองใหม่ ที่ไม่เหมือนเดิม ในการเทรด ซึ่งจะสามารถช่วยให้เทรดเดอร์มึนงงกับการใช้ Indicators ในการประกอบการเทรด
Indicators ไม่ได้ให้สัญญาณ ซื้อ/ขาย
            จุดแรกที่เทรดเดอร์หลายคนเข้าใจผิดในการใช้ Indicators เลยคือ Indicators ไม่ได้เป็นตัวให้สัญญาณซื้อ/ขาย เป็นเพียงเครื่องมือที่ให้ข้อมูลจากราคาในอดีตที่ผ่านมาเท่านั้นเอง หน้าที่ของเทรดเดอร์มืออาชีพคือต้องตีความหมายของข้อมูลที่ Indicators แสดงและนำไปเป็นไอเดียในการเทรด ไม่ได้ไว้เป็นสัญญาณการในการซื้อขาย
            หน้าที่ของ Indicators หลักๆเพียงแค่ให้ “ข้อมูล” แสดงความหมายเกี่ยวกับ ราคา , ว่าเคลื่อนไหวมากน้อยเท่าไหร่ , ลักษณะแท่งเทียนเป็นอย่างไร , หรือเปรียบเทียบพฤติกรรมของราคาในปัจจุบันกับอดีต เราต้องเข้าใจก่อนว่า Indicators ที่ใช้อยู่นั้นทำหน้าที่อะไร มีสูตรที่มาเป็นอย่างไร ควรเข้าใจหลักในการคำนวณ เพื่อที่จะรู้ว่ามันกำลังแสดงอะไรอยู่ เทรดเดอร์บางคนใช้ Indicators โดยที่ไม่รู้ตัวว่ามันมีสูตรการคำนวณมาอย่างไรเลยทีเดียว
            สมมติถ้าคุณใช้ Indicator อย่าง Stochastic แล้วคุณรอสัญญาณ Overbought / Oversold หรือคุณรอเส้น %K ตัด %D เพียงอย่างเดียว นี่เป็นสิ่งที่ไม่ดีในการเทรด Indicators เป็นเพียงเครื่องมือที่ไว้วิเคราะห์ข้อมูลในอดีตเท่านั้น ไม่ได้เป็นทางลัดในการหาสัญญาณ ซื้อ/ขาย การใช้ Indicators เพียงอย่างเดียวในการตัดสินใจการเทรดนั้นอาจทำให้ผลการเทรดแย่ก็เป็นได้
            การเทรดที่ดีควรวิเคราะห์ หาจังหวะ ตีความการเคลื่อนไหวของพฤติกรรม เพื่อสร้างสัญญาณการเทรด การเกิด Divergence กับ RSI นั้นไม่ได้บอกว่าเทรดเดอร์ต้อง Short ทันที แต่เพียงบอกว่าโมเมนตัมการเคลื่อนไหวของราคาเริ่มหมดแรงลงเมื่อเทียบกับช่วงก่อนหน้า ส่วนการเกิดรูปแบบ Bearish engulfing เป็นบ่งชี้ได้ว่าสัญญาณ Bearish นั้นเริ่มมากขึ้น แต่ก็ไม่ได้บอกว่าต้อง Short เดี๋ยวนั้นเช่นกัน
Indicators เป็นตัวบอกว่าเกิดอะไรขึ้นอยู่
            ถึงแม้เราจะสามารถวิเคราะห์พฤติกรรมการเคลื่อนไหวของราคาด้วยตาเปล่าก็สามารถคาดการณ์ได้ว่าราคากำลังมีลักษณะอย่างไร Momentum ดีหรือไม่ หรือมีความผันผวนมากน้อยเพียงไร แต่เมื่อนำราคามาแปลงเป็น Indicators แล้วจะทำให้การสังเกตุนั้นชัดเจนมากขึ้น สามารถเปรียบเทียบได้เป็นในรูปแบบตัวเลข ทำให้กระบวนการวิเคราะห์ง่ายกว่าและรวดเร็วกว่า
            เช่นคุณสามารถเห็นกราฟที่เคลื่อนไหวแรงๆ กำลังผันผวน ไปมาอย่างมาก คุณอาจสงสัยว่ามันมากน้อยเพียงไร แต่เมื่อคุณเปิดเครื่องมืออย่าง ATR หรือ Bollinger Bands ก็จะรู้ทันทีได้ว่าราคานั้นผันผวนอยู่ในระดับใด


Indicators สามารถใช้เป็นฐานสำหรับไอเดียในการเทรด
            Indicators สามารถเปลี่ยนการวิเคราะห์แบบ Subjective เป็น Objective ซึ่งสามารถให้เรารักษามาตรฐานสไตล์การเทรดของเราเอาไว้ได้ ไม่หลงไปเทรดสไตล์อื่น อย่างเช่นถ้าคุณเป็น Trend trader คุณหาโอกาสการเปิด Long ของคู่สกุลเงินจากตัวที่เคลื่อนไหวเหนือเส้นค่าเฉลี่ย 50 วันเป็นต้น
Indicators = Price action
            อันนี้เป็นสิ่งสำคัญ Indicators กับ Price action คือให้เกิดในลำดับเหตุการณ์ที่พร้อมกัน เพียงแต่ในรูปแบบแตกต่างกันแค่นั้น เทรดเดอร์หลายคนชอบคิดว่า Indicators ให้สัญญาณช้ากว่า Price action แต่จริงๆแล้วทั้ง 2 ตัวนี้ให้ข้อมูลพร้อมกัน คำนวณจากเหตุการณ์ในอดีตพร้อมกัน

ทีมงาน : forexbrokersthailand.com

Ichimoku cloud indicator

Ichimoku cloud indicator

            เครื่องมือนี้ถูกสร้างขึ้นโดยคนญี่ปุ่นทำให้ชื่อเป็นภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งเครื่องมือที่ครบเครื่อง เป็น All-in-one indicator เลยทีเดียว ซึ่งให้ข้อมูลทั้ง แนวรับ/แนวต้าน , แนวโน้มทิศทางของราคา และ โมเมนตัม ในเวลาเดียวกัน ถือได้ว่าเครื่องมือนี้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ แต่เทรดเดอร์ส่วนมากมักเห็นเครื่องมือนี้แล้วจะรู้สึกงงๆ ว่าเส้นอะไรมันเยอะเต็มไปหมดเลย และบ่อยครั้งที่ตีความเครื่องมือนี้ผิดไป ในบทความนี้จะมาชี้ถึงขั้นตอนวิธีการใช้ Ichimoku indicator ในการเทรด
ขั้นแรก : ทำความรู้จัก 2 ส่วนประกอบหลัก
            1) The conversion and bas lines : ถ้ามองผ่าน 2 จะคล้ายกับเส้นค่าเฉลี่ย (Moving averages) แต่จะแตกต่างตรงที่ The conversion and bas lines เป็นการแสดงถึงค่ากลางระหว่างช่วง 9 วันและ 26 วันของ High และ Low หมายความว่าถ้าย้อนหลังไป 9 วันและ 26 วัน นำช่วงที่สูงที่สุด และต่ำที่สุดในช่วงดังกล่าว และ Plot ค่ากลางของช่วงนั้น
            Tenkan Sen / Conversion Line: The middle of the 9-period high and low
Kijun Sen / Base Line: The middle of the 26-period high and low
            วัตถุประสงค์ของ The conversion and bas lines มี 2 อย่างคือ 1. หาแนวรับแนวต้าน และ 2 . ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ Momentum เมื่อราคาเคลื่อนไหวเหนือ 2 เส้นนี้ และ Conversion Line อยู่เหนือ Base line ให้สัญญาณว่า Bullish momentum
            - Conversion and base lines ทำหน้าที่คล้าย แนวรับ / แนวต้าน
            - ซื้อ ก็ต่อเมื่อ ราคาเคลื่อนไหวเหนือกว่าเส้น conversion and base lines และตรงกันข้าม ขาย ก็ต่อเมื่อ ราคาเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้น conversion and base lines
             - เมื่อเส้น Base lines ตัดเส้น Conversion Line ขึ้น เป็นสัญญาณ Bullish Momentum
            2) The Ichimoku cloud : บริเวณก้อนเมฆที่สร้างจากขอบบนและขอบล่างของช่วงระหว่างเส้น 2 เส้นที่มาจาก 1. ค่าเฉลี่ยระหว่าง Conversion และ Base lines และ 2. ค่ากลางของช่วง High และ Low ในรอบ 52 วัน และที่สำคัญคือ Ichimoku cloud จะเลื่อน Plot เส้นลงในกราฟล่วงหน้าไป 26 วัน
       Seknou A – faster moving boundary: The middle between Conversion and Base Line
Senkou B – slower moving boundary: The middle between the 52-period high and low
Important: The Cloud is shifted 26 periods into the future
            วัตถุประสงค์ของ Cloud นั้นคล้ายกับ Conversion และ base lines คือจะสามารถแสดงได้ถึงแนวรับ/แนวต้านและให้ข้อมูลเกี่ยวกับทิศทางของแนวโน้มและโมเมนตัมของราคา แต่ที่ Cloud นั้นจะให้ข้อมูลที่ช้ากว่าเพราะใช้ช่วงการคำนวณที่ 52 วัน       
            ในพื้นฐาน Cloud จะยืนยันขาขึ้นได้ก็ต่อเมื่อราคาเคลื่อนไหวเหนือ Cloud และในทางตรงกันข้าม จะยืนยันขาลงได้ก็ต่อเมื่อราคาเคลื่อนไหวต่ำกว่า Cloud และในช่วงที่ราคาเคลื่อนไหวใน Cloud เป็นช่วง Noise zone ในช่วงการขึ้น Cloud มักใช้สีเขียวเป็นการแสดงถึงแนวโนวขาขึ้น และใช้สีแดงเป็นการแสดงถึงแนวโน้มขาลง
การใช้ Inchimoku indicator ในการเทรด
# The cloud : ดูแนวโน้มใหญ่ และ แนวรับ / แนวต้าน
            เริ่มแรกในการวิเคราะห์แนวโน้มภาพรวมนั้นให้ดูว่าราคาเคลื่อนไหวสูงกว่า หรือต่ำกว่า Cloud และอีกทั้งยังสามารถใช้ Cloud เป็นช่วงแนวรับ / แนวต้าน ได้เข่นกัน จากตัวอย่างด้านล่างจะเห็นว่าราคาได้มีปฏิกริยาตอบสนองกับ Cloud ระหว่างการเคลื่อนไหว  
# Conversion และ Base lines
            Conversion และ Base lines เป็นการให้สัญญาณซื้อ และขาย ในช่วงที่ Conversion line ตัดเส้น Base line ขึ้นเป็นสัญญาณบวก และถ้าเส้น Conversion ตัดเส้น Base line ลงจะเป็นสัญญาณลบ และเมื่อนำมาประกอบการวิเคราะห์กับ Cloud แล้วจะเพิ่มประสิทธิมากขึ้น
# การหาจุดเข้าและจุดออก
  • เมื่อ ระหว่างช่วงแนวโน้มขาลง ถ้าราคาขึ้นมายืนเหนือ Conversion และ Base line ได้เป็นสัญญาณว่า Momentum เริ่มเปลี่ยน
  • แต่ถ้ายังไม่สามารถผ่านแนวต้านบริเวณ Cloud ไปได้ ก็ยังไม่ยืนยันว่าแนวโน้มใหญ่นั้นเปลี่ยน
  • และเมื่อราคาทะลุ Cloud ขึ้น แสดงถึงแนวโน้มขาลงได้จบลง
  • เทรดเดอร์สามารถใช้ Ichimoku ในการเทรด ได้ทั้งแบบ Conservative และ aggressive
                        - Conservative : จะรอจนกว่าราคาทะลุ Cloud ขึ้น (ลง)
                        - Aggressive : เริ่มเทรดตั้งแต่ราคาขึ้นเหนือ Conversion และ Base line (หรือต่ำกว่า)

ทีมงาน : forexbrokersthailand.com

Donchian Channel

Donchian Channel

            หลายคนเคยได้ยินชื่อการเทรดนี้จากกลุ่ม Turtle traders ที่ใช้เครื่องมือนี้ในการเทรด เป็นลักษณะ Trend-following indicator โดย Donchian channel วัดจาก High และ Low ของช่วงที่คำนวณ โดยปกติใช้ 20 วัน

            ในการเทรดทั่วไปเทรดเดอร์รอราคาทะลุช่วงกรอบราคาดังกล่าว เป็นสัญญาณในการซื้อ/ขาย เช่นถ้าราคาทะลุกรอบบนขึ้นก็เป็นสัญญาณ ซื้อ และถ้าทะลุกรอบล่างลงก็เป็นสัญญาณ ขาย โดยในบทความนี้จะเป็นการเสริมอาวุธให้กับเครื่องมือนี้ โดยใช้เครื่องมือต่างๆเข้ามาประกอบ
# หาจังหวะที่ High momentum ในการเบรก
            เป็นเรื่องปกติอยู่แล้วที่ในช่วง Breakout นั้นจะไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ให้สัญญาณที่ 100% อยู่แล้ว แต่ถ้าเราเพิ่มโอกาส เพิ่มคุณภาพในช่วงจังหวะการ Breakout ให้เข้าไปประกอบกับ Donchian channel ก็จะส่งผลให้การ Breakout นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น
            เราสามารถวิเคราะห์ช่วงการเบรกที่มีลักษณะ High momentum เพื่อคัดเฉพาะช่วงดังกล่าว ซึ่งถือว่าช่วงดังกล่าวนี้จะเป็นการ Breakout ที่แท้จริง โดยใช้ RSI เป็นตัววัด เพื่อตัดช่วง Low momentum ออกไป
# กรอบแนวโน้มราคา
            การกรอบแนวโน้มราคาเพื่อวิเคราะห์แนวโน้มโดยรวมในช่วงนั้น ในที่นี้จะใช้เส้นค่าเฉลี่ย 100 วัน เป็นกำหนด Long/Short scenarios โดยถ้าราคาเคลื่อนไหวเหนือเส้น 100 วัน ก็จะใช้เฉพาะกลยุทธ์ฝั่ง Long และถ้าราคาเคลื่อนไหวต่ำกว่าเส้น 100 วัน ก็จะใช้เฉพาะกลยุทธ์ฝั่ง Short เพื่อเล่นตามแนวโน้ม
#ใช้หลัก Position sizing
            การใช้กลยุทธ์ Position sizing strategy ในการเข้าก็จะเป็นตัวช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของระบบการเทรดได้ดีขึ้นเช่นกัน
            “Scaling in” เป็นกลยุทธ์การเปิด Position เพิ่มขึ้นเมื่อราคาวิ่งไปถูกทางที่เราคาดการณ์ หรือกล่าวง่ายๆคือ ถั่วชนะ และขยับจุด Stop loss ขึ้นมาเรื่อยๆเพื่อรักษากำไร
            ข้อดีของการ Scaling in
  • ในช่วง ทะลุหลอก จะมี Position ที่เล็ก
  • จะเปิด Position ให้เต็มจำนวนเฉพาะช่วงที่ ทะลุอย่างแท้จริง

ทีมงาน : forexbrokersthailand.com

7 วิธีหาแนวรับ แนวต้าน สำคัญ

 7 วิธีหาแนวรับ แนวต้าน สำคัญ

            ในการเทรดนั้นการหาแนวรับแนวต้านสำคัญๆนั้นมาจากบริเวณเครื่องมือต่างๆ หรือสัญญาณบางอย่างได้บ่งชี้ไปในทางเดียวกันว่าบริเวณนั้นมีความสำคัญ ซึ่งสามารถใช้บริเวณนั้นเป็นจุดตัดสินใจในการประกอบการเทรด
  1. Daily และ Weekly moving averages
            เส้นค่าเฉลี่ยเป็นที่รู้จักกันดีทั้งในหมู่เทรดเดอร์ การที่เส้นค่าเฉลี่ยมีความสำคัญในลำดับต้นๆ นั้นก็เพราะว่าหลายคนได้ใช้มันในการประกอบการตัดสินใจ อย่างน้อยๆ 8 ใน 10 ของเทรดเดอร์สายเทคนิคคอลต้องมีอยู่บนกราฟ โดยเส้นค่าเฉลี่ยที่นิยมใช้กันคือ 100 , 200 วัน ใน Time-frame รายวัน และรายสัปดาห์ สามารถใช้เป็นแนวรับ แนวต้านสำคัญๆ ได้เช่นกัน
  1. แนวรับ แนวต้าน ของภาพรายวัน และรายสัปดาห์
            น้ำหนักของภาพใหญ่นั้นมีมากกว่าภาพเล็กอยู่แล้ว แม้ว่าคุณจะเทรดในราย 4 ชั่วโมง หรือ รายชั่วโมง ควรย้อนกลับไปดูแนวรับ แนวต้านของภาพรายวันและรายสัปดาห์ด้วย เนื่องจากในภาพใหญ่นั้นแนวรับแนวต้านค่อนข้างแข็งแรงกว่าภาพย่อยมาก โดยไม่แนะนำให้ใช้เป็นระดับเดียว แต่ให้ใช้เป็น Zone หรือเป็นช่วงบริเวณนั้น
  1. Trend lines และ Channels
            เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ไว้หาแนวรับแนวต้านสำคัญๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรูปแบบของแนวนอน (non-horizontal) ในช่วงราคาเป็น Trend เครื่องมือ 2 อย่างนี้สามารถช่วยหาจุด Re-entry ได้เป็นอย่างอย่างดี อีกทั้งยังสามารถบ่งชี้ในช่วงที่เป็นการเร่งตัวขึ้น (Trend-accelerating) ของราคาได้เช่นกัน
  1. Round numbers
            ตัวเลขกลมๆ ฟังดูไม่มีอะไร แต่เป็นที่นิยมของเหล่ารายย่อย ที่มักตั้งออเดอร์กันในบริเวณดังกล่าว ไว้ตั้ง Stop loss หรือจุด Take profit เทรดเดอร์ที่ดีควรใช้ประโยชน์จากพฤติกรรมของรายย่อยนี้
  1. Pivot points
            เป็นเครื่องมือที่ถูกสร้างขึ้นโดย Floor trader (เทรดเดอร์สมัยใช้กระดานเคาะราคาหุ้น) ไว้หาแนวรับแนวต้าน โดยแนวรับแนวต้านในปัจจุบันนั้นขึ้นอยู่กับราคา OHLC (Open , high , low , close) ของวันก่อนหน้า ดังนั้นในระหว่างวันที่เทรดจะไม่มีการเปลี่ยนแนวรับแนวต้านดังกล่าว แต่หากเปลี่ยน Time frame เป็นรายสัปดาห์ แนวรับแนวต้านก็จะถูกคำนวณจากภาพรายสัปดาห์ก่อนหน้า
            P : Central pivot point ที่คำนวณจากราคาของวันก่อนหน้า
            S1 – S3 : บริเวณ 3 แนวรับจาก Central P pivot
            R1 – R3 : บริเวณ 3 แนวต้านจาก Central P pivot
            ในการเทรดการใช้จุด Pivot points ในการเป็นจุดแนวรับ แนวต้าน ไว้เป็นการหาจุดเข้า จุดออกในการเทรด
  1. High Low
            เป็น Basic ของเทรดเดอร์ที่อาศัยระดับ High หรือ Low ก่อนหน้าไว้ดูแนวรับ แนวต้าน หรือวิเคราะห์แนวโน้มในช่วงนั้นว่าเป็นลักษณะใด รวมถึงเป็นการบ่งชี้ช่วงเปลี่ยน Momentum หรือเริ่มต้นแนวโน้มใหม่

ทีมงาน : forexbrokersthailand.com

5 วิธีในการดูทิศทางของแนวโน้ม

5 วิธีในการดูทิศทางของแนวโน้ม

            การเทรดตามแนวโน้มเป็นเหมือนการว่ายน้ำตามกระแสน้ำที่ไหล ในขณะที่ทิศทางของแนวโน้มเป็นขาขึ้น คุณจะกล้าสวน Short ไหมละ หรือคุณจะเทรดฝั่ง Long เกาะไปตามแนวโน้ม แน่นอนว่าเล่นตามกระแสของแนวโน้มนั้นง่ายกว่าอยู่แล้ว แต่ที่มือใหม่มักทำพลาดในการเทรดตามแนวโน้มคือ มักจะเข้าตอนที่แนวโน้มนั้นใกล้จบแล้ว จึงต้องอาศัยการวิเคราะห์แนวโน้มของราคาเพื่อสร้างประสิทธิภาพในการเทรดให้มากที่สุด

            ก่อนที่จะไปดูวิธีการดูทิศทางของแนวโน้มนั้น มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าการเคลื่อนไหวของตลาดประกอบด้วย 3 สิ่ง คือ ขึ้น , ลง , Sideway
#1 Line graph
            วิธีที่ง่ายที่สุดและใช้ได้จริง คือการปรับกราฟเป็น Ling graph จะทำให้มองแนวโน้มราคาออกได้ง่าย ตัดพวก noise ออกไปได้ (ใน bar graph และ candlestick graph แสดง High , Low ทำให้กราฟดูยาก) สามารถดูแนวโน้มโดยรวมได้ง่าย

#2 Highs และ Lows
            ตามหลักพื้นฐานของ Technical analysis เลยคือเมื่อราคาทำ Higher High และ Higher Low เป็นช่วงแนวโน้มขาขึ้น และถ้าราคาทำ Lower High และ Lower Low  เป็นช่วงแนวโน้มขาลง

#3 Moving Averages
            เป็นหนึ่งเครื่องมือที่นิยมใช้ในการกรองแนวโน้มมากที่สุด และมีประสิทธิภาพมากเช่นกัน แต่อย่างไรก็ตาม มีบางสิ่งที่ต้องระวังในการใช้เส้นค่าเฉลี่ย คือ ช่วงที่ใช้คำนวณ ค่ามาก หรือน้อย จะมีผลต่อจะวิเคราะห์ เช่นถ้าใช้ค่าน้อย เส้นค่าเฉลี่ยก็จะตอบสนองต่อราคาไวกว่า ให้สัญญาณเร็วกว่า แต่จะเจอสัญญาณหลอกบ่อยกว่า

#4 Channels และ Trend line
            Channels และ Trend line เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้วิเคราะห์ทิศทางของแนวโน้มราคาได้ และสามารถพิจารณาในช่วงตลาด Sideway ได้เช่นกัน และยังสามารถใช้ประกอบกับเส้นค่าเฉลี่ยได้เช่นกัน

#5 ADX indicator
            เป็นเครื่องมือที่ใช้ดูทิศทางของแนวโน้มราคาและยังสามารถบ่งชี้ถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มในช่วงนั้นได้อีกเช่นกัน โดย ADX indicator ประกอบด้วย 3 เส้น คือ +DI , -DI และ ADI … +DI เป็นการแสดงถึงความแข็งแกร่งของ Bullish ส่วน –DI เป็นการแสดงถึงความแข็งแกร่งของ Bearish ส่วน ADI แสดงถึงความแข็งแกร่งของแนวโน้มในช่วงนั้น

            อย่างไรก็ตามทุกเครื่องมือและทุกกลยุทธ์ล้วนมีข้อจำกัด ไม่จำเป็นที่เทรดเดอร์จะต้องได้ 100% ชนะในทุกการเทรด ขอแค่เพียงครั้งที่ชนะของคุณมันใหญ่กว่าครั้งที่แพ้แค่นั้นก็เพียงพอแล้ว
ทีมงาน : forexbrokersthailand.com

1 2 3 Pattern

1 2 3 Pattern

            การเทรดจริงๆแล้วไม่ได้จำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือที่ซับซ้อนก็สามารถทำกำไรได้ ไม่จำเป็นต้องมี 8 หน้าจอในการเทรด ไม่ต้องมี Indicator เยอะๆ เพียงแต่เข้าใจหลักการที่สามารถทำกำไรจากตลาดได้ก็เพียงพอต่อการชนะตลาดในระยะยาวแล้ว เชื่อไหมว่าการใช้เพียง 1 จอ และอีก 1 – 3 indicator คุณก็สามารถทำกำไรได้แล้ว

            รูปแบบ 1 2 3 Pattern เป็นรูปแบบการเทรดที่เรียบง่ายมาก เพียงเทรดเดอร์หาจุด Low และ High ของราคาก็เพียงพอที่จะทำกำไรได้แล้ว โดยรูปแบบนี้จะพิจารณาจากจุด Low และ High ในการเทรด โดยเทรดเมื่อราคาสร้าง Higher Low และทะลุขึ้นทำ Higher High ให้เปิด Long ตาม แค่นั้น และตั้ง Stop loss ที่จุด Low ก่อนหน้า หรือเทรดเดอร์บางคนตั้งที่จุดที่ราคาทะลุขึ้นมา ส่วนเป้าหมายการทำกำไรนั้นสามารถใช้ Fibonacci extensions หรือแนวรับแนวต้าน หรือสัญญาณ Divergence ก็ได้ แล้วแต่เทรดเดอร์

            ซึ่งหลักการนี้เป็นหลักการพื้นฐานของ Dow theory ที่ราคาทำ High สูงขึ้น และยก Low สูงขึ้นบ่งชี้ถึงแนวโน้มขาขึ้น และตามทฤษฎีได้บอกว่าราคาจะเคลื่อนไหวไปเป็นอย่างมีแนวโน้มและจะเคลื่อนไหวต่อไปจนกว่าจะเกิดสัญญาณเปลี่ยนแนวโน้ม
            สามารถทำหลักการเทรดนี้ไปแต่ยอดได้อีก โดยอาจประยุกต์ใช้ในการเทรดที่ต่าง Time frame กัน หรือเพิ่ม Indicator เช่น RSI , MACD เข้าไปประกอบกับการหาเป้าหมาย หรือเข้าในช่วงย่อตัวก่อนที่จะขึ้นทะลุทำ High ใหม่

ทีมงาน : forexbrokersthailand.com

วันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

วิเคราะห์รูปแบบการเคลื่อนไหวราคา (Wave)

วิเคราะห์รูปแบบการเคลื่อนไหวราคา (Wave)

Wave analysis – การวิเคราะห์การเคลื่อนไหวของราคา เป็นวิเคราะห์ที่ไม่ตายตัว ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ชัดเจน ซึ่งการวิเคราะห์นี้สามารถบ่งชี้ถึงการเคลื่อนไหวของแนวโน้มราคาและเข้าใจมันมากขึ้น

4 ประเภท ของ Wave patterns
  1. The single wave : เป็น Wave patterns ที่บ่งชี้อะไรไม่ได้มาก จะคล้ายกับรูปแบบ V-top bottom โดยรูปแบบนี้เทรดเดอร์ไม่สามารถจับจังหวะเข้าไปเทรดได้
  2. Grinding wave : วิธีการดู Wave นี้จะใช้ Bollinger band ในการดู คือ Wave ที่เป็นช่วงราคาไต่กรอบของกรอบ Bollinger เป็นช่วงที่แนวโน้มแข็งแกร่ง
3. Wave exhaustion : เป็นช่วงนี้ Wave นั้นแสดงถึงความอ่อนแรงลงในการเคลื่อนไหว สามารถสังเกตได้จากการที่ราคาเคลื่อนไหวฉีกออกจากกรอบ Bollinger (จากเดิมที่ไต่กรอบดังกล่าว) หรือไม่ก็ช่วงที่เกิด Divergence
4. Spiking wave : คล้ายกับ Wave exhaustion แต่ที่เพิ่มเติมคือจะเห็นแท่งเทียนที่เป็นพวก Pinbar เกิดขึ้นใน Wave ดังกล่าว
ในประเภทที่ 3 และ 4 สามารถใช้หาจุดกลับตัวของราคาได้ ส่วนประเภทที่ 1 และ 2 ไม่เหมาะกับเทรดเดอร์ที่เป็นเทรดสไตล์หาจุดกลับตัว

การวิเคราะห์ Wave pattern นั้นมีทั้งข้อดีและข้อดี ซึ่งข้อดีของมันคือ สามารถสร้างความแตกต่างระหว่างเทรดเดอร์ทั่วไปกับเทรดเดอร์มืออาชีพได้ เนื่องจากเทรดเดอร์ทั่วไปมักเทรดรูปแบบที่ชัดเจน ง่ายๆ แต่การวิเคราะห์ Wave pattern นั้นเป็นอะไรที่ไม่ตายตัว ต้องอาศัยการวิเคราะห์ที่ดี แต่ข้อเสีย คือ การเทรดจริงค่อนข้างยาก ไม่รู้ว่าจะเปิด ปิดออเดอร์ตรงไหนถึงมีประสิทธิภาพมากที่สุด

ทีมงาน : forexbrokersthailand.com

เลือกกราฟให้เหมาะกับกลยุทธ์

เลือกกราฟให้เหมาะกับกลยุทธ์

ในตลาด Forex มีคู่สกุลต่างๆ ให้เลือกเป็นจำนวนมาก เทรดเดอร์ส่วนมากก็จะเลือกเทรดจากคู่สกุลเงินที่เป็นที่นิยม คนส่วนมากเทรดกัน มีข่าวต่างๆ รายงานอยู่ตลอด ซึ่งแต่ละคู่สกุลเงินการเคลื่อนไหวก็จะแตกต่างกันออกไป การเลือกว่าจะเทรดคู่เงินสกุลไหนนั้น ค่อนข้างเป็นอะไรที่เทรดเดอร์ที่ต้องให้ความสำคัญกับมัน เพราะว่าบางตัวกำลังเคลื่อนไหว Sideway ถ้าเทรดเดอร์เป็นเทรดสไตล์ Trend-following ก็อาจไม่เหมาะ เทรดเดอร์ต้องเลือกเล่นเกมส์ที่เราถนัด
สไตล์การเทรดที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น Trend-following , Mean-reversion , Breakout หรืออื่นๆ ก็ต้องเลือกตลาดที่เหมาะสมกับเรา เนื่องจากไม่มีกลยุทธ์ใดที่สามารถชนะทุกสภาพตลาด แต่ละกลยุทธ์มีข้อดีข้อเสียต่างกันออกไป
การดูกราฟว่าตัวไหนควรเทรด หรือไม่ควรเทรดนั้นเป็นสิ่งสำคัญ จากตัวอย่างกราฟด้านล่าง ถ้าคุณเป็นเทรดเดอร์สไตล์ Trend-following คุณอยากจะเห็นภาพนี้ไหม ? เป็นช่วงที่ราคาแกว่งตัวในกรอบเป็นเวลานาน ถ้าทำกลยุทธ์การเทรดแบบ Trend-following ไปใช้รับรองได้ว่าแพ้แน่นอน
  สภาพตลาดมีอยู่ 2 อย่าง คือ Ranging และ Trending น่าที่ของเทรดเดอร์คือวิเคราะห์สภาพตลาดดังกล่าว แล้วใช้กลยุทธ์ที่เราถนัดกับสภาพตลาดนั้น ทุกช่วงที่ Ranging สุดท้ายแล้วก็ต้องกลับมาเป็น Trend  และทุกครั้งที่ Trending สุดท้ายก็ต้องกลับมาเป็น Ranging จับจังหวะมันให้ได้ ถ้าเป็น Trend-following ก็ดูว่าในช่วงที่ผ่านมาเป็น Trend หรือเปล่า ถ้าเป็น Mean-reversion ก็ดูว่ามันที่ผ่านมาตลาดเป็น Ranging หรือเปล่า

ทีมงาน : forexbrokersthailand.com